เชื่อว่าคงจะเป็นเรื่องที่คาใจมาก ๆ สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่เห็นถึงอาการของลูกโดยเฉพาะขณะที่กินนมหรืออาหารที่เวลากินเข้าไปแล้วสักพักลูกก็จะสำรอกออกมา ซึ่งก็ทำให้หลาย ๆ คน สงสัยว่าแล้วสำรอกกับอาเจียนนั้นมันต่างกันอย่างไร ทั้ง ๆ ที่มันก็คล้าย ๆ กัน วันนี้บทความของเราเลยอยากนำเอาความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้มาแนะนำให้ดูกัน ว่าจะมีสิ่งใดบ้างที่คูรพ่อคุณแม่ควรรู้เมื่อลูกมีอาการเหล่านี้เพื่อการดูแลที่ถูกต้อง
สำรอก กับ อาเจียน ต่างกันอย่างไร หาคำตอบได้ที่นี่

สำรอก คือ อาการที่ลูกนั้นขย้อนนมหรืออาหารออกมาจากปาก หรือที่เรียกกันว่า “อ๊อกนม” ซึ่งอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นบ่อยครั้งในเด็กช่วงแรกเกิด โดยจะสามารถสังเกตอาการได้หลังจากที่เขานั้นกินนมหรืออาหารแล้วมีการขย้อนออกมาจากทางช่องปาก ซึ่งปัญหาเหล่านี้นั้นก็สามารถที่จะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากเด็กทารกเป็นวัยที่ยังสื่อสารด้วยการพูดไม่ได้ แต่ก็มีวิธีในการป้องกันอยู่ โดยมีวิธีในการป้องกันที่สามารถทำตามได้ดังนี้
- ตั้งศีรษะลูกให้ตรงตรงขณะที่กำลังป้อนนม เพราะพบว่าการนอนกินนมนั้นจะทำให้เด็กสำรอกง่ายกว่า
- อย่าปล่อยให้ลูกหิวจนเกินไป เพราะเปรียบเสมือนการเอาอากาศเข้าไปในท้อง เวลาที่กินนมเข้าไปก็จะทำให้อากาศดันกับนมที่กิน จนเกิดการสำรอกได้นั่นเอง
- หลังจากที่ให้นมเสร็จแล้ว ควรจับลูกให้นั่งตรง ๆ ก่อนประมาณ 20-30 นาที แล้วค่อยให้นอนตามปกติ
- หากลูกกินนมผงนั้นอาจพิจรณาได้ว่าการที่ลูกอ๊อกนมบ่อยอาจเกิดจากการที่กินนมไม่ถูกกัน ซึ่งก็สามารถที่จะเปลี่ยนยี่ห้อหรือสูตรนมลองดูได้
- สังเกตที่รูขวดนมว่าใหญ่เกินไปหรือไม่ เพราะหากรูมีความใหญ่เกินไปก็จะทำให้ลูกนั้นรีบดูดนมและระห่างนั้นก็จะเอาอากาศเข้าไปด้วยนั่นเอง

ส่วนอาเจียน หรือการ อ้วก นั้นก็คือ อาการสำรอกที่มีความรุนแรงมากกว่า ซึ่งก็สามารถเกิดได้จากหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการทานอาหาร หรือการที่อาจเป็นโรคในกระเพาะและลำไส้ โดยจะรู้สึกถึงความวิงเวียนศีรษะและมีการขับออกมาทางปากอย่างรวดเร็วและมีความรุนแรงมากกว่าการสำรอกนั่นเอง

ดังนั้นก็สามารถสรุปได้ว่า การสำรอกและการอาเจียนนั้นก็ไม่ได้เหมือนกันเสียทีเดียว แต่สิ่งที่คุณแม่ควรดูให้ดีก็คือการสังเกตเกี่ยวกับพฤติกรรมการสำรอกของลูก หากบ่อยครั้งจนเกินไปจนไม่ทราบสาเดหตุก็ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธีและไม่ให้เกิดอาหารแทรกซ้อนอื่น ๆ เพิ่มขึ้นได้นั่นเอง
เครดิต
www.facebook.com
อ่านต่อที่ คู่มือแม่ลูกอ่อน