ออทิสติกเทียม เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งโรคที่มาแรงมาก ๆ ในตอนนี้เลยก็ว่าได้ ซึ่งโรคนี้ไม่ได้เป็นโรคทางพันธุกรรมแต่อย่างใด แต่เป็นโรคทางพฤติกรรมที่คนเลี้ยงลูกขาดการละเลยต่อหน้าที่นั่นเอง ซึ่งมันก็มีหลายปัจจัยที่ทำให้หนูน้อยนั้นกลายเป็นโรคนี้ได้ และวันนี้เราก็จะพาทุกคนไปเฝ้าระวังรวมไปถึงแนวทางการป้องกันไม่ให้ลูกเป็นออทิสติกเทียมกัน จะมีอะไรที่น่าสนใจและควรรู้เอาไว้บ้างนั้นเราก็มาดูไปพร้อม ๆ กันได้เลย
ออทิสติกเทียม เรื่องใกล้ตัว ที่คนเลี้ยงลูกต้องระวัง
ออทิสติกเทียม คือ ภาวะที่เด็กนั้นขาดการกระตุ้น หรือการขาดปฏิสัมพันธ์ที่พึงมีในตัวเด็กต่อผู้ปกครองหรือพ่อแม่ ซึ่งก็จะทให้เด็กนั้นมีลักษณะนิสัยที่เปลี่ยนไป อีกทั้งยังขาดการตอบสนองจนสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน โดยสาเหตุหลัก ๆ ของการเกิดออทิสติกเทียมในเด็กนั้น ก็จะเกิดากผู้ปกครอง ขาดการดูแลและขาดการมีปฏิสัมพันธ์ต่อเด็ก โดยส่วนใหญ่แล้วหลาย ๆ ครอบครัวในปัจจุบันมักจะยัดเยียดเทคโนโลยีอย่างมือถือนั้น เป็นสื่อในการให้เด็ก ๆ ได้ใช้งานกันตั้งแต่ยังเล็ก ๆ
ซึ่งก็ทำให้เราได้เห็นว่าทำไมเด็กในสมัยก่อนจึงไม่ค่อยมีคนที่เป็นโรคออทิสติกเทียมกันนั่นเอง เพราะมือถือนี้มีสิ่งที่น่าสนใจมากกว่า และส่วนใหญ่เวลาที่ผู้ปกครองเอามือถือให้กับเด็ก ๆ ได้ใช้งานกันแล้ว เด็ก ๆ ก็มักจะจดจ่ออยู่กับสิ่งนั้นและขาดความสนใจต่อสิ่งรอบข้าง ซึ่งก็จะมีอาการที่เริ่มแสดงออกว่าเด็กนั้นเข้าข่ายการเป็นออทิสติกเทียมแล้ว ดังนี้
- ไม่ยิ้มหรือไม่แสดงอารมณ์ใด ๆ ออกมา
- ไม่สบตาเวลาที่พูด
- พูดไม่เป็นภาษ หรือมีภาษาเป็นของตัวเองที่เราฟังแล้วไม่เข้าใจ หรือในบางคนก็ยังพูดช้าจนผิดปกติอีกด้วย
- สนใจแต่โทรศัพท์มือถือและไม่สนใจสิ่งรอบข้าง ขาดการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคนในครอบครัว
ซึ่งนี่ก็เป็นอาการที่เริ่มบ่งบอกแล้วว่าลูกของคุณเริ่มเข้าข่ายการเป็นออทิสติกเทียม และหากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นในช่วงที่คุณสามารถสังเกตเห็นได้เร็วนั้น ก็จะสามารถที่จะทำการรักษาได้เร็วมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย โดยวิธีการรักษานั้น ก็ไม่ได้ยากอะไร เพียงแค่คุณแม่ คุณพ่อ หรือผู้ปกครอง ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กให้มากยิ่งขึ้น เช่น การพูดคุยแลกเปลี่ยนสิ่งที่สนใจ หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันโดยการหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือ ก็จะช่วยบรรเทาอาการของการเป็นออทิสติกเทียมได้ง่าย ๆ แต่หากลูกของคุณนั้นอยู่ในอาการที่เริ่มควบคุมยากแล้ว ก็ควรที่จะปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาอาการนี้กันต่อไป
เครดิต
www.vichaiyut.com
www.bangkokhospital.com
อ่านต่อที่ คู่มือแม่ลูกอ่อน