เมื่อพูดถึงโรคตาขี้เกียจนั้นพ่อแม่หลายๆคนก็อาจจะยังไม่รู้จักกับโรคนี้การเสียเท่าไหร่เนื่องจากเป็นโรคที่พบไม่บ่อยในเด็กแต่หากเกิดแล้วค่อนข้างที่จะอันตรายพอสมควรเลยทีเดียวดังนั้นวันนี้บทความของเราจึงได้นำเอาความรู้ดีๆเกี่ยวกับเรื่องโรคตาขี้เกียจในเด็กให้คุณพ่อคุณแม่ไปเช็คให้ดีว่าลูกของคุณนั้นกำลังเป็นโรคนี้อยู่หรือไม่เพราะหากรู้ช้าไปก็อาจทำให้ลูกนั้นสูญเสียสายตาไปได้เลยจะมีอะไรที่น่าสนใจบ้างนั้นก็มาดูไปพร้อมๆกันเลย
พ่อแม่ต้องเช็ค ลูกเป็นโรคตาขี้เกียจไหม ถ้าเป็นรีบรักษา

โรคตาขี้เกียจ คือ โรคเกี่ยวกับดวงตาที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นซึ่งสายตาข้างหนึ่งนั้นจะสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนปกติผิดกับอีกข้างหนึ่งที่จะมองเห็นไม่ชัดเจนและมีความผิดปกติทางด้านการมองเห็น โดยปัญหาเหล่านี้ก็มักจะเกิดขึ้นกับเด็กเพียง 3-5% เท่านั้นและมักจะเกิดขึ้นกับเด็กตั้งแต่ในช่วงแรกเกิดไปจนถึง อายุ 7 ขวบ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก็เกิดจากการที่พัฒนาการของการมองเห็นนั้นลดลง และหากไม่รักษาอย่างรวดเร็วก็อาจทำให้เด็กสูญเสียสายตาไปได้เลย โดยสาเหตุของการเกิดโรคนี้ก็มีดังนี้
1.สายตาไม่เท่ากัน
สายตาไม่เท่ากันนั้น เช่น ตาข้างหนึ่งอาจมีค่าสายตาที่ 0 แต่อีกข้างมีค่าสายตาที่ 200 ซึ่งวิธีการในการแก้ปัญหาจุดนี้ก็คือการตัดแว่นสำหรับคนที่สายตาไม่เท่ากัน จะช่วยป้องกันการสูญเสียการมองเห็นได้เป็นอย่างดี แต่หากรู้ไม่เท่าทันและปล่อยปะลละเลยก็อาจทำให้เด็กเป็นโรคตาขี้เกียจได้
2.ตาเขหรือตาเหล่
โดยปกติแล้วคนเราจะสายตาที่เที่ยงตรงและมีจุดศูนย์รวมสายตาเป็นที่เดียวกัน แต่สำหรับเด็กบางคนนั้นอาจเกิดมามีกล้ามเนื้อตาที่ผิดปกติ ซึ่งก็อาจส่งผลให้เกิดโรคตาขี้เกียจได้ในอนาคตอีกเช่นเดียวกัน
3.ปัญหาอื่น ๆ ที่ทำให้ดวงตามองไม่เห็นหนึ่งข้าง
บางทีการที่ลูกมองเห็นไม่ชัดข้างนึงนั้นก็อาจจะเป็นเพราะ ต้อในเด็ก หรือการที่หนังตาตกนั้นก็ทำให้เกิดโรคตาขี้เกียจได้หากไม่รีบรักษา

ซึ่งวิธีแก้ที่ดีที่สุเมื่อพบปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกนี้แล้วก็คือ การพาเขาไปวัดค่าสายตาว่ามีความผิดปกหรือปกติหรือไม่นั่นเอง จะเป็นการป้องกันการสูญเสียการมองเห็นจากโรคที่เกิดขึ้นได้อย่างดีที่สุด

และนี่ก็คือ โรคตาขี้เกียจ ในเด็กที่เราอยากมาแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ลองเช็คลูกดูว่ามีความผิดปกติในด้านการมองเห็นของสายตาทั้งสองข้างหรือไม่เพราะหากเกิดขึ้นแล้วก็ควรที่จะพาเข้าไปพบแพทย์อย่างเร็วที่สุดเพื่อที่จะทำการรักษาได้อย่างถูกต้องและถูกวิธีลดปัญหาการสูญเสียสายตาและการมองเห็นได้ด้วยนั่นเอง
เครดิต
www.facebook.com
อ่านต่อที่ คู่มือแม่ลูกอ่อน